
การทำใบขับขี่รถยนต์
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการสอบใบขับขี่
– บัตรประชาชนตัวจริง
– สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
– ใบรับรองแพทย์ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
– ใบรับรองการอบรม กรณีอบรมนอกขนส่ง
เริ่มแรกการทดสอบสมรรถนะร่างกาย
– ทดสอบตาบอดสี
– ทดสอบสายตาทางลึก
– ทดสอบสายตาทางกว้าง
– ทดสอบการตอบสนองของเท้า
การสอบข้อเขียน
เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก จะมอบหนังสือรวมป้ายจราจร และกฎจราจรเบื้องต้นให้อ่าน ก่อนทำการสอบ บางที่จะเป็นบอร์ดให้ยืนอ่านกัน ซึ่งในข้อสอบจะสุ่มป้ายจราจรและกฎจราจรที่เราอ่านมาเป็นข้อสอบ จำนวน 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย มีให้เลือก ก-ง จะผ่านเกณฑ์การสอบที่ 45 คะแนน หรือคิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด
และหากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ขั้นตอนทั้งหมดจะถูกหยุดลงและให้กลับมาสอบใหม่วันหลัง กำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน
สอบภาคปฏิบัติสอบใบขับขี่รถยนต์ 2560 กำหนดไว้ให้ 3 ด่าน ดังนี้
1. ขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
ให้ขับรถในช่องเดินรถที่ระยะ 12 เมตร เดินหน้า 1 ครั้ง และถอยหลัง 1 ครั้ง โดยต้องไม่ขับชนหรือเบียดเสาหลัก ที่ตั้งวางเรียงกันทั้งซ้ายและขวา และอย่าให้เครื่องยนต์ดับในขณะทดสอบอยู่
2. ขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ด้านซ้ายของตัวรถต้องจอดขนาน และห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 ซม. โดยจอดให้ล้อหน้าและหลัง ล้อทับเส้นสีที่กำหนด กันชนหน้ารถต้องไม่เกินจุดหยุดรถข้างทางและห่างจากเส้นหยุดรถไม่เกิน 1 เมตร
3. ขับรถถอยเข้าซอง
ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย เปลี่ยนเกียร์ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง ต้องไม่ชนหรือเบียดเสาในพื้นที่ที่กำหนด ตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือเสาหลักด้านซ้าย กระจกข้างต้องไม่ล้ำออกมาเกินเส้นที่กำหนด
การทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใบขับขี่
- อายุของผู้ที่จะขอใบขับขี่
สำหรับผู้ขอใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
สำหรับผู้ขอใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลที่มีขนาดความจุกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
สำหรับผู้ขอใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ - มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
- มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
- ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
1.เมื่อเช็กคุณสมบัติครบถ้วนแล้วก็มาเตรียมเอกสารประกอบที่จะใช้ในการขอใบขับขี่กันครับ ซึ่งมีหลัก ๆ 2 อย่างดังนี้
1. บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport)
2. ใบรับรองแพทย์
3. ใบรับรองการอบรม
ขั้นตอนการดำเนินการขอใบขับขี่
จองคิวในการอบรม สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการนั้น ก่อนอื่นต้องจองคิวในการอบรม ซึ่งการอบรมจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง สามารถจองได้ผ่าน 3 ช่องทางดังนี้ครับ
1. จองคิวอบรมได้ที่กรมขนส่งทางบก ในพื้นที่ใกล้บ้าน ซึ่งเปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ด้วยตัวเองพร้อมหลักฐานประกอบคำขอตามที่แจ้งไว้เบื้องต้น
2. จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์
2. ทดสอบสมรรถนะร่างกาย หลังจากที่จองคิวอบรมแล้ว ในวันที่อบรม ทุกคนต้องเข้ารับการตรวจและทดสอบสมรรถนะร่างกาย ดังนี้
ทดสอบสายตาทางกว้าง เพื่อทดสอบความสามารถในการมองเห็นของสายตาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งเป็นมุมกว้างข้างละตั้งแต่ 75 องศา
ทดสอบการตอบสนองของเท้า เพื่อทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้าเพื่อหยุดรถมอเตอร์ไซค์ให้เร็วที่สุด
ทดสอบสายตาทางลึก เพื่อการทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.50 – 3.50 เมตร
ทดสอบตาบอดสี เป็นการทดสอบการมองเห็นสี ซึ่งจำเป็นต่อการขับรถเช่นการดูไฟและป้ายจราจรต่าง ๆ
3. เข้ารับการอบรม การอบรมจัดขึ้นเพื่อสร้างสำนึกการขับขี่บนท้องถนน โดยเนื้อหาอบรมจะเกี่ยวกับความรู้ด้านกฎหมายการจราจรทางบก เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาในการอบรมทั้งหมดประมาณ 5 ชั่วโมง
4. สอบข้อเขียน ในการสอบข้อเขียนนั้น จะสอบเกี่ยวกับป้ายจราจรและกฎจราจร ซึ่งมีจำนวน 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย มีให้เลือก ก-ง จะตัดสินว่าผ่านเกณฑ์การสอบที่ 45 คะแนน หรือคิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด แต่หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถกลับมาสอบใหม่ ในกำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน
5.สอบภาคปฎิบัติ ผู้ขับขี่จะต้องทำการสอบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถใช้รถตัวเองหรือใช้บริการเช่ารถของกรมขนส่งก็ได้ ซึ่งค่าเช่าจะอยู่ที่คันละ 50 บาท โดยการสอบต้องขับขี่ตามท่าที่กำหนดไว้ทั้งหมด 5 ท่า ดังนี้
ท่าที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ท่าที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
ท่าที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้งแคบ รูปตัว Z
ท่าที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้ง รูปตัว S
ท่าที่ 5 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก ผ่านสิ่งกีดขวาง
6. ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบขับขี่ เมื่อผ่านการทดสอบทั้งข้อเขียนและภาคปฏิบัติแล้ว ให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดคือ 15.30 น. ซึ่งมีค่าใช้จ่าย
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะ
1.ต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณี ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 ดังนี้
ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะและใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
3.ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย
ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น
4.มีสัญชาติไทย
5.รู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบขับขี่พอสมควร
6.ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7.ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
8.ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8) ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า
หกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือน
หนึ่งปีสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือนในคดีเกี่ยวด้วยการใช้รถกระทำความผิด หรือ
หนึ่งปีหกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา เกินสามเดือน แต่ไม่เกินสามปี และได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน โดยชี้แจงถึงเหตุผล ที่ตนต้องโทษพร้อมกับแสดง หลักฐานว่าคนเป็นบุคคล ที่มีความประพฤติเรียบร้อยควรไว้วางใจให้ขับรถยนต์ สาธารณะ หรือรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ถ้าเห็นด้วยกับคำร้องก็ให้มีอำนาจออกใบอนุญาตขับรถให้ได้โดยมิให้นำ 8) มาใช้บังคับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ขอทราบ
หลักฐานประกอบคำขอ
1.ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล หรือใบแทนใบขับขี่รถดังกล่าว พร้อมด้วยสำเนา แล้วแต่กรณี
2.บัตรประชาชนฉบับจริง
3.ใบรับรองแพทย์แสดงว่า ผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2.ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
ทดสอบสายตาทางลึก
ทดสอบสายตาทางกว้าง
ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)
3.อบรม 5 ชั่วโมง สำหรับรถยนต์สาธารณะ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ และอบรม 3 ชั่วโมง สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
4.การทดสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน)
5.ตรวจสอบความประพฤติหรือประวัติอาชญากร ไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรณีบุคคลทั่วไป /หนังสือรับรองความประพฤติให้ผู้ขอนำไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ขอรับใบ อนุญาต ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่ารับรองความประพฤติหรือประวัติอาชญากร
6.ชำระค่าธรรมเนียม (ปิดชำระค่าธรรมเนียม 15.30 น.) / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
หมายเหตุ
กรณีใบอนุญาตชนิดชั่วคราว หรือชนิดส่วนบุคคล ที่นำมายื่นสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มชั้นตอนการสอบขับรถ
การขอใบขับขี่รถบด รถแทรกเตอร์
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถชนิดอื่นตามมาตรา 43 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
หมายเหตุ
แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
การขอใบขับขี่ระหว่างประเทศ
หลักฐานประกอบคำขอ
1. สำเนาหนังสือเดินทาง เล่มที่ใช้ในการเดินทาง ประวัติหน้าที่แก้ไข (พร้อมฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
2. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
3. สำเนาใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล(ชนิด 5 ปี)หรือตลอดชีพ ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล(ชนิด 5 ปี)หรือตลอดชีพ ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (พร้อมฉบับจริง) ใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยกรมการขนส่งทางบก ซึ่งยังไม่หมดอายุหรือใบแทนใบอนุญาตดังกล่าว (พร้อมฉบับจริง) แล้วแต่กรณี
4. รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว 2 รูป ( รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ) ถ่ายรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือสวมแว่นตาสีเข้ม, ไม่มีภาพวิวหลังรูป
5. สำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อ- สกุล, ทะเบียนสมรสหรือใบหย่า
6. ค่าธรรมเนียม 505 บาท
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2. ชำระค่าธรรมเนียม ( ปิดรับชำระเงิน 15.30 น. ) / จัดทำต้นขั้วใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
หมายเหตุ กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้เตรียมหลักฐาน ดังนี้
1. ใบมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
2. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ ( พร้อมฉบับจริง ) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
3. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้มอบอำนาจ ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
สถานที่ติดต่อ
1.ส่วนกลางติดต่อได้ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5
2.ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด
3.ข้อมูลเพิ่มเติม DLT Call Center 1584