



เป็นสะพานข้ามช่องแคบเออเรซุนด์ ที่เชื่อมต่อจากประเทศสวีเดนไปยังประเทศเดนมาร์กและประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ประกอบด้วยทางยกระดับ สะพานขึง และอุโมงค์ลอดใต้ทะเล ขนาด 4 ช่องจราจร และทางรถไฟคู่ขนานไปกับถนนคอนกรีต ตัวสะพานมีระยะทางราว 8 กิโลเมตร ส่วนถนนในอุโมงค์มีระยะทางราว 4 กิโลเมตร
ได้ชื่อว่าเป็นทางยกระดับก็ต้องมีการเก็บค่าผ่านทางเป็นธรรมดา หากคุณต้องการจะข้ามสะพานนี้แล้วละก็ต้องเสียเงินค่าผ่านทางราว 1,800 บาท
ถ้าเรามองดูสะพานนี้จากมุมมองทางอากาศ จะเห็นได้ว่าตัวสะพานจู่ ๆ ก็มุดหายไปในน้ำทะเล แต่ที่จริงแล้วคือ สะพานจากฝั่งสวีเดนนั้นค่อย ๆ ลดระดับลงจนกลายเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทะเลต่างหาก
เนื่องจากถนนฟากเดนมาร์กนั้นอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานโคเปนเฮเกนมาก และบรรดาวิศวกรวิตกว่า หากสร้างทางเชื่อมเป็นสะพานทั้งหมด อาจเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องบินที่อาจพลาดมาชนสะพานเมื่อกำลังลดระดับเพดานบินเพื่อลงจอดก็เป็นได้ วิศวกรจึงออกแบบให้มีสะพานและอุโมงค์อย่างละครึ่งนั่นเอง


นี่คืออุโมงค์ถนนลอดใต้ทะเลสาบ เวลูวีเมียร์ ที่ชื่อว่าสะพานส่งน้ำ เวลูวีเมียร์ (Aqueduct Veluwemeer) ที่สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้ประชาชนใช้งานเมื่อปี 2545 ซึ่งอุโมงค์แห่งนี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของทะเลสาบเวลูวีเมียร์อันแสนกว้างใหญ่ โดยช่องทางน้ำเหนืออุโมงค์มีความกว้าง 19 เมตร ยาว 25 เมตร ลึก 3 เมตร เพียงพอที่จะให้เรือลำไม่ใหญ่นักแล่นผ่านไปได้
ถนนของอุโมงค์แห่งนี้ เป็นถนนสาย N302 ซึ่งเป็นถนนทางหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดโฟลเฟลันด์ ซึ่งเป็นเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก กับแผ่นดินใหญ่ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ถนนสายนี้มีรถขับผ่านมากกว่า 28,000 คันต่อวัน และนอกจากนี้ยังมีทางเดินเล็ก ๆ ขนาบข้างผืนน้ำ ไว้สำหรับผู้ที่ต้องการชมวิวบริเวณทะเลสาบอีกด้วย


เป็นอุโมงค์ลอดใต้ทะเลที่ยาวที่สุดและอยู่ลึกที่สุดในโลก โดยยาวถึง 53.85 กิโลเมตร (ส่วนที่อยู่ทะเลยาว 23.3 กิโลเมตร) และอยู่ลึกจากพื้นดินใต้ท้องทะเลลงไปกว่า 140 เมตร
อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเกาะฮอนชูกับเกาะฮอกไกโด ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมนั้นสองเกาะนี้เดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเฟอร์รี่ แต่การเดินทางด้วยวิธีนี้มีอุปสรรคเยอะ เพราะเจอพายุเป็นประจำ รัฐบาลญี่ปุ่นมีการสำรวจความเป็นไปได้ในการสร้างอุโมงค์เมื่อปี 2489 แต่หลังจากนั้นรัฐบาลได้เร่งเดินหน้าสร้างอุโมงค์แห่งนี้ เพราะในระยะเวลาไม่กี่ปีมีผู้โดยสารใช้บริการเรือเฟอร์รี่ข้ามไปมาระหว่างสองเกาะนี้เพิ่มมากขึ้นกว่า 4 ล้านคนและปริมาณการขนส่งก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ในปี 2531 รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้เปิดใช้งานอุโมงค์ Seikan อย่างเป็นทางการ หลังจากเปิดให้บริการแล้วมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางจากโตเกียวไปเมืองซัปโปโร เกาะฮอกไกโด ที่เรียกได้ว่ามีคนจองเต็มทุกเที่ยวเสมอ แม้ว่าจะแพงกว่าและใช้เวลามากกว่าการนั่งเครื่องบินด้วยซ้ำ