***ช่วยกันแชร์หน่อยจ้า****

นักซิ่งทั้งหลายรู้หรือไม่ว่าการขับรถด้วยความเร็วที่เกินกฎหมายกำหนดมีความผิดอย่างไร และความเร็วเท่าไหร่ถึงจะถือว่าผิดกฎหมาย จำกัดความเร็ว บทความนี้เราจะมาบอกถึงข้อกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2123368657965836&set=pcb.2123370207965681&type=3&theater

การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย การขับรถบนถนนในเมือง หรือเส้นทางหลวงก็ต้องมีการกำหนดความที่แตกต่างกันออกไป ตามข้อกฎหมายบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 6 ประกอบกับฉบับที่ 10 ซึ่งออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 
ข้อ 1 – ในกรณีปกติ ให้กำหนดความเร็วสำหรับรถ ดังต่อไปนี้
1. สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร
2. สำหรับรถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ในวงเล็บ (1) ขณะที่ลากจูงรถพ่วง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกินชั่วโมงละ 45 กิโลเมตร หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร
3. สำหรับรถยนต์อื่นที่นอกจากระบุไว้ในวงเล็บ (1) หรือ (2) หรือรถจักรยานยนต์ให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร
ข้อ 2 – ในเขตทางที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตรายหรือเขตให้ขับรถช้า ๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร
ข้อ 3 – ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กำหนดในข้อ 1 ให้ขับไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้


อัตราค่าปรับเมื่อขับรถเร็วเกินกำหนด
อัตราค่าปรับในการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดปรับตั้งแต่ 200 – 1,000 บาท แม้จะดูน้อย แต่เชื่อได้ว่าเป็นการลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ ช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินได้คุ้มค่ามากกว่าเงิน 1,000 บาทเป็นแน่

การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว ตามกฎหมาย การขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถอนุโลมผ่อนผันได้ ดังนั้น การดำเนินการตรวจจับเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้กฎหมายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องมือตรวจจับที่ผู้ขับขี่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น กล้องตรวจจับความเร็วที่ถูกติดตั้งบริเวณต่างๆ จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายในบริเวณพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในขณะเดียวกัน หากเพิ่มการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำให้ผู้ขับขี่รับรู้ถึงการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นในทุกที่และทุกเวลา การที่ผู้ขับขี่ไม่ทราบว่าจะมีการดำเนินการตรวจตราและจับกุมในบริเวณไหน จะทำให้ผู้ขับขี่ต้องขับขี่ภายในความเร็วจำกัดตลอดเวลา ดังนั้นการผสมผสานการตรวจจับทั้งสองแบบ จะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น