

แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติการใช้งาน ได้ดังต่อไปนี้ครับ
1. Conventional Battery (แบตเตอรี่ ชนิดต้องเติมน้ำกลั่น ตลอดเวลา )
: เป็นแบตเตอรี่ที่อัตราการสูญเสียไอน้ำกรดค่อนข้างมาก ตลอดอายุการใช้งาน เนื่องจากแผ่นธาตุทำจาก ตะกั่วพลวง (Lead Antimony) ทั้งแผ่นธาตุบวก และ แผ่นธาตุลบ ซึ่งแผ่นธาตุที่ทำจากตะกั่วพลวง จะมีคุณสมบัติดังนี้
– มีความทนทานต่อความร้อนสูง
– มีความทนทานต่อน้ำกรดสูง
– มีความทนทานต่อการประจุไฟฟ้าสูง (ความต้านทานภายในสูง)
แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่อง
– มีการคายประจุไฟฟ้าเองรวดเร็ว (Self Discharge เร็วมาก) ทำให้การขนส่ง และการเก็บรักษาได้ยาก
– ทำให้การอัดประจุไฟฟ้าช้า เนื่องจากมีความต้านทานภายในสูง ทำให้กระแสไหลเข้าได้ช้า)
– เกิดความร้อนจากการชาร์จมาก ทำให้มีการสูญเสียน้ำกรดค่อนข้างเร็ว
– แบตเตอรี่เกิดการโอเวอร์ชาร์จได้ง่าย


2. Hybrid Battery (แบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อย) : เป็นแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาเพื่อแก้ไข ปัญหาหลักของแบตเตอรี่ชนิดแรก โดยการเปลี่ยนชนิดของ แผ่นธาตุบวก เป็น ตะกั่วแคลเซียม (Lead Calcium) แต่แผ่นธาตุลบ ยังคงเป็น ตะกั่วพลวง (Lead Antimony) ซึ่งเป็นผลทำให้แบตเตอรี่มีอัตราการสูญเสียไอน้ำกรดระหว่างการใช้งาน ลดลง ทำให้ได้แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติ
– แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าเองน้อยลงมาก
– แบตเตอรี่มีการสูญเสียไอน้ำกรดน้อยลง
– แบตเตอรี่เกิดการโอเวอร์ชาร์จน้อยลง
– แบตเตอรี่มีการประจุไฟฟ้าได้เร็วขึ้น


3. Maintenance Free Battery (แบตเตอรี่ชนิดไม่ต้องการบำรุงรักษา) : เป็นแบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้งานของรถยนต์ และพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ไม่มีเวลาในการ ดูแลรักษารถยนต์ (หลาย ๆ ท่าน ไม่เคยเปิดฝากระโปรงรถยนต์ หรือ ไม่รู้แม้แต่วิธีการเติมน้ำกลั่น หรือ รถบางคันเจ้าของรถยนต์ยังไม่รู้ว่าแบตเตอรีติดตั้งไว้จุดใดในรถยนต์ ก็มี) โดยแผ่นธาตุทั้งแผ่นธาตุบวก และ แผ่นธาตุลบ จะเป็นชนิด ตะกั่วแคลเซียม (Lead Calcium) หรือตะกั่วเงิน (Lead Silver ) สำหรับ แบตเตอรี่ชนิด Maintenance Free นั้นยังจำแนกได้ตามประเภทได้ดังนี้