ตามกฎหมายการขนส่ง ก้าหนดอุปกรณ์ขนส่งและน้ำหนักรถบรรทุก ดังนี้
ลักษณะรถที่ใช้ขนส่งสินค้าแบ่งออกเป็น9ลักษณะ
1) รถกะบะบรรทุก คลอบคลุมรถบรรทุกมีคอกหรือไม่มีคอก หรือไม่มีอุปกรณ์ยกหรือเทของ มีหลังคาและไม่มีหลังคา
2) รถตู้บรรทุกคลอบคลุมรถตู้ทึบ มีบานประตูปิดเปิดสำหรับถ่ายของด้านข้างหรือด้านหลัง
3) รถบรรทุกของเหลว มีถังสำหรับบรรทุกของเหลว
4) รถบรรทุกวัสดุอันตราย ก๊าซเหลว สารเคมี ระเบิด
5) รถบรรทุกเฉพาะกิจ ครอบคลุมรถบรรทุกเครื่องดื่มขยะมูลฝอย รถผสมซีเมนต์
6) รถพ่วง ครอบคลุมถึงรถพ่วงที่มีน้ำหนักรถ รวมน้ำหนักบรรทุก ลงบนเพลาล้อตัวเองและรถที่ใช้ลากจูง
7) รถกึ่งพ่วง ครอบคลุมรถพ่วงที่มีนำหนักรวมรถบรรทุกบางส่วน เฉลี่ยเพลาล้อของรถคันลากจูง
8) รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว เป็นรถกึ่งพ่วงโครงโลหะ ปรับความยาวช่วงล้อรถลากจูงได้
9) รถลากจูงเป็นรถสำหรับลากจูงรถพ่วง รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ รถทั้ง 9ชนิด ต้องมีขนาดตามที่กำหนดไว้ทั้งความ กว้าง ยาว สูง ส่วนยื่นหน้าและท้าย ดังนี้
1) ความกว้าง ความกว้างของตัวถังรถส่วนประกอบที่ยื่นจากตัวถังรถ แต่ไม่รวมกระจกมองหลัง ด้านข้างต้องไม่เกิน ด้านข้างต้องไม่เกิน 2.50 เมตร ส่วนประกอบของตัวถังจะยื่นออกจากยางนอกเพลาท้ายได้ไม่เกิน 1.5 เซ็นติเมตร
2) ความสูงที่สุดของรถเมื่อวัดจากพื้นราบต้องไม่เกิน 3.8 เมตร สำหรับรถตู้บรรทุกที่มีความกว้างไม่เกิน 2.3 เมตร ให้ม ความสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร
3) ความยาว ความยาวของรถรรรทุกตามลักษณะ 1,2,3,4,5 และ 9 เมื่อวัดจากกันชนหน้าถึงท้ายรถห้ามเกิน10เมตร ความยาวของรถบรรทุกลักษณะ6ไม่เกิน8เมตรและรถบรรทุกลักษณะ7กับ8 ยาวไม่เกิน12.5เมตร
4) ส่วนยื่นหน้ารถรรรทุกลักษณะ 1,2,3,4,5,6 และ 9 เมื่อวัดจากส่วนหน้าสุดของรถไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางเพลาล้อหน้าต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ รถบรรทุกลักษณะ7กับ8 เมื่อวัดจากส่วนหน้าสุดของรถไม่รวมกันชนถึงกลางสลักพ่วงไม่เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ
5) ส่วนยื่นท้าย รถรรรทุกลักษณะ 1,2,3,4,5,6 และ 9 ส่วนยื่นท้ายของรถเมื่อวัดจากส่วนท้ายของตัวถัง ส่วนบรรทุกไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้าย หรือศูนย์กลางระหว่างเพลาคู่ท้ายต้องมีความยาวไปเกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ ยกเว้นรถบรรทุกตู้ทึบและรถที่มีขาทางขึ้นลง หรือติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าด้านท้ายส่วนบรรทุกยื่นท้ายรถได้ไม่เกิน 2 ใน 3 ของช่วงล้อสำหรับรถบรรทุกลักษณะ 7 และ 8 ส่วนยื่นท้ายของรถเมื่อวัดจากส่วนท้ายสุดของตัวถังส่วนรรรทุก ไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางระหว่างเพลาคู่ท้ายยื่นได้ไม่เกิน 2 ใน 5ของช่วงล้อ
6) รถบรรทุกลักษณะ5,6,7และ8 ที่เป็นรถบรรทุกเฉพาะกิจ มีความกว้าง ความสูงและความยาวเกินกว่าที่กำหนดได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นตามลักษณะที่ใช้งาน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
7) น้ำหนักของรถบรรทุก น้ำหนักขึ้นอยู่กับจำนวนเพลา แบ่งได้6ลักษณะตามตาราง4-7
ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ
ความเร็วของรถบรรทุกตามกฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ดังนี้
1.รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ขับไม่เกิน60กิโลเมตร นอกเขตดังกว่าให้ขับไม่เกิน80กิโลเมตร/ชั่วโมง
2.รถบรรทุกอื่นๆรถพ่วงบรรทุกรวมน้ำหนักรถบรรทุกห้ามเกิน1,200 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา ความเร็วห้ามเกิน 45กิโลเมตร/ชั่วโมง นอกเขตดังกล่าวห้ามเกิน 60กิโลเมตร/ชั่วโมง
กฎหมายรถบรรทุกเรื่องการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง
เนื่องจากมีสถิติตัวเลขจากอุบัติเหตุรถชนจากรถยนต์ส่วนบุคคลกับรถบรรทุกสิ่งของขนาดใหญ่ ของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่มีความยาว และขนาดความกว้างของรถที่ส่งผลลบต่อวิสัยทัศน์ในการขับขี่ของผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่น ๆ โดยเฉพาะการขับขี่ในเวลากลางคืน ที่มีอุบัติเหตุร้ายแรงสูงถึงขั้นเสียชีวิตหลายครั้ง
ทั้งนี้กฎหมายรถบรรทุกส่วนของการติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสง เป็นหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานกฎหมายรถบรรทุกของไทยให้เข้าสู่ความเป็นสากลทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมยานยนต์ที่สหประชาชาติ เพื่อออกมติให้แต่ละประเทศจัดระเบียบทางด้านนี้
โดยคุณสมบัติของแผ่นสะท้อนแสงที่ใช้ ต้องผ่านการทดสอบแล้วว่าสามารถมองเห็นได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 150 เมตร และติดตั้ง 2 ด้าน คือ ด้านข้างรถ กับ ด้านท้ายรถ ซึ่งด้านข้าง รถ ต้องใช้แถบสะท้อนแสงที่เป็นสีเหลืองกับสีขาวเท่านั้น ส่วนด้านท้ายรถ กฎหมายรถบรรทุก ได้ระบุว่าให้ใช้สีแดง หรือ สีเหลือง และตำแหน่งที่ติด ต้องมีความสมดุลสมมาตรกันซ้ายขวาของด้านท้ายรถ โดยรถที่ต้องติดด้านหลัง คือรถที่มีความกว้าง มากว่า 2.1 เมตร ขึ้นไป ส่วนการติดแถบสะท้อนแสงด้านข้างรถ ต้องติดให้แถบมีค่าความยาวไม่น้อยกว่าสัดส่วน 1 ใน 3 ของความยาวรถ แต่ไม่ให้เกิน 2 ใน 3 ของความยาวรถ