

INITIAL INSPECTION
ขั้นตอนนี้เป็นตรวจสอบสภาพของโครงยาง ก่อนนำเข้าขบวนการผลิต
โดยทำความสะอาดภายในโครงยางก่อน จากนั้นทำการตรวจสอบ
1. ท้องยาง ( INNER LINER )
2. ขอบยาง ( BEAD )
3. แก้มยาง ( SIDEWALL )
4. หน้ายาง ( CROWN )


Shrarography
ขั้นตอนนี้เป็นตรวจสอบสภาพของโครงยาง โดยเครื่อง Shearography เพื่อดูว่ามีการแยกขั้นของโครงยางหรือไม่ โดยจะทำการตรวจเฉพาะบริเวณหน้ายาง เมื่อมีการแยกชั้น เครื่องจะแสดงออกมาให้เห็นในรายงาน


BUFFING
โครงยางที่ผ่านการตรวจสอบจะนำมาขูดหน้ายางเดิมออก เพื่อควบคุมรูปทรงของหน้ายาง ความหนาของยางที่เหลือ และความหยาบของผิวหน้ายาง โดยจะเหลือเนื้อยางเดิมเหนือชั้นลวดประมาณ 2 ม.ม.


SKIVING
เป็นขั้นตอนตกแต่งผิวในส่วนที่ขูดผิวไม่ได้ และตกแต่งผิวของบาดแผลที่มีบนโครงยาง โดยจะเปิดแผลเป็นรูปแอ่งกระทะ ถ้าลวดแตกและเป็นสนิมจะทำการงัดและตัดลวดออก




REPAIRING
เป็นขั้นตอนในการซ่อมบาดแผลที่เกิดบนโครงยาง โดยซ่อมตามมาตรฐาน เพื่อให้โครงยางสามารถคงสภาพและใช้งานได้เหมือนยางใหม่


CEMENTING
เมื่อซ่อมแผลเสร็จแล้วจะนำโครงยางมาทำความสะอาดและพ่นซิเมนต์ ให้ทั่วทั้งผิวหน้ายาง


FILLING
หลังจากที่นั่นประมาณ 15 นาที จะนำโครงยางมาเติมเนื้อยางลงบนแผลเพื่อเตรียมพื้นผิวสำหรับติดดอกยาง


BUILDING
หลังจากเติมเนื้อยางลงบนแผลเสร็จแล้วจะนำโครงยางมาติดดอกยาง โดยในขั้นตอนแรกจะติดกาวแผ่นบริเวณขอบยางทั้งสองด้านก่อนจากนั้น จึงติดกาวแผ่นในบริเวณของหน้ายางและติดดอกยางเป็นขั้นตอนสุดท้าย


ENVELOPE & RIM
หลังจากติดหน้ายางแล้วจะนำโครงยางมาใส่ Envelopeและประกอบกระทะล้อ หรือใส่ inner envelope เพื่อเตรียมยางเข้าอบ


CURING
เมื่อเตรียมยางเสร็จแล้วจากนั้นจะลำเลียงยางเข้าเต้าอบ ในการอบยางจะใช้อุณหภูมิ 115 องศาเซลเซียส และให้เวลาอบ 3.00 ชั่วโมง


FINAL INSPECTION
โครงยางที่เสร็จแล้วจะต้องนำมาตรวจสอบคุณภาพอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าโครงยางที่อัดดอกมีความสวยงาม และการติดของหน้ายางสมบูรณ์ ก่อนจะนำส่งลูกค้าต่อไป


Pressure Test
โครงยางที่เสร็จแล้วจะต้องนำมาตรวจสอบคุณภาพ
ในขั้นตอน Final Inspection แล้ว ต้องทำการทดสอบ pressure test ด้วยเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงยางยังสามารถใช้งานได้ตามสภาวะการทำงานปกติ