

โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบช่วงล่าง คือ เป็นตัวรองรับแรงกระแทก และควบคุมการยึดเกาะถนนของตัวรถยนต์ โช้คอัพ และสปริงต้องทำงานร่วมกัน โดยเมื่อมีแรงกดมายังช่วงล่างสปริงจะทำการยุบตัว และค่อย ๆ ดีดตัวขึ้น ตรงส่วนนี้เอง โช้คอัพจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดแรงดีดตัวของสปริง ทำให้แรงดีดตัวของสปริงมีความหนืดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกนุ่มขึ้นของช่วงล่าง ถ้าโช้คอัพสามารถลดแรงดีดตัวของสปริงได้มากเท่าใด ก็แสดงถึง ประสิทธิภาพของโช้คอัพได้มากเท่านั้น ซึ่งเมื่อขณะที่รถยนต์ได้รับแรงกระแทกจากการวิ่งบนถนนที่ไม่เรียบ โช้คอัพจะมีหน้าที่เป็นตัวช่วยหน่วง การเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของตัวรถยนต์ และยังช่วยควบคุมการเต้นของล้อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ล้อของรถยนต์ ได้สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ในขณะที่รถแล่นอยู่ตลอดเวลา ให้เกิดความสบายของผู้ขับขี่และให้เกิดการทรงตัวที่ดีที่สุด


โช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) ที่ใช้ในรถยนต์อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นโช้คอัพที่ทำงาน โดยอาศัยการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (HYDRAULIC OIL) หรือที่เรียกว่า น้ำมันโช้คอัพ โดยบรรจุไว้ ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบอัดให้น้ำมันไฮดรอลิค ที่อยู่ภายในกระบอกไหล ผ่านรูเล็ก ๆ (ORIFICE) ที่อยู่ภายในลูกสูบ โดยที่รูเล็กๆเหล่านี้ จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ในขณะที่รถวิ่งไปบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะมีการยืดตัวและหดตัว ตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็กๆภายในลูกสูบ จึงมีหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยว การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของสปริงและแหนบของรถยนต์
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2130363180599717&set=pcb.2130423450593690&type=3&theaterโช้คอัพที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นโช้คอัพที่อาศัยหลักการทำงานด้วยระบบน้ำมันไฮดรอลิค (น้ำมันโช้คอัพ) โดยบรรจุไว้ในภาชนะทรงกระบอก และอาศัยแรงดันของลูกสูบ อัดให้น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่านรูเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกสูบ โดยรูเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีหน้าที่ควบคุม และจำกัดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อรถได้รับแรงกระเทือนบนทางที่ขรุขระ สปริงหรือแหนบของรถจะยืด และหดตัวตามจังหวะการสั่นสะเทือนของล้อรถยนต์ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลผ่านรูเล็ก ๆ ภายในลูกสูบจึงมีหน้าที่หน่วงเหนียว การดีดตัวอย่างรวดเร็วของสปริง หรือแหนบของรถยนต์
โช้คอัพแบ่งออกตามสื่อการทำงานได้เป็น 2 ชนิดคือโช้คอัพรถยนต์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้แบ่งตามรูปแบบการทำงานได้ 2 ชนิด คือ


(1) โช้คอัพน้ำมัน โช้คอัพชนิดนี้จะทำงานโดยใช้ น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวทำงานให้เกิดความหนืดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ทำงานน้ำมันไฮดรอลิค จะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบจึงทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นภายในน้ำมันไฮดรอลิค ฟองอากาศของน้ำมันจะทำให้โช้คอัพทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้ขาดช่วงการทำงาน โดยเฉพาะกับรถที่ต้องใช้ความเร็วสูง เพราะถ้าฟองอากาศแตกจะทำให้โช้คอัพเกิดการขาดช่วงการทำงานในช่วงสั้นๆ อาจจะทำให้รถเสียการควบคุมได้


(2) โช้คอัพแบบแก็ส โช้คอัพที่อาศัยการทำงานร่วมกัน ระหว่างแก๊สไนโตรเจน และ น้ำมันไฮดรอลิค มีหลักการทำงานคือ เมื่อโช้คอัพได้รับแรงสะเทือนจากพื้นถนน ลูกสูบของโช้คอัพ จะเลื่อนตัวลงมาด้านล่างของกระบอกลูกสูบ ทำให้น้ำมันไฮดรอลิคที่บรรจุในกระบอกสูบ ไหลผ่านวาล์วขึ้นไปห้องน้ำมันด้านบน และน้ำมันอีกส่วนไหลผ่านวาลว์ ด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง ขณะเดียวกันน้ำมันในห้องน้ำมันสำรอง จะทำการอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดันเมื่อแก๊สมีแรงดัน ก็จะดันน้ำมันไฮโดรลิคที่อยู่ในห้องน้ำมันสำรอง กลับเข้าสู่กระบอกสูบดังเดิมโดยในขณะเดียวกัน แรงดันที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ฟองอากาศแตกตัว ประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถขับขี่บนพื้นถนนที่ขรุขระ ถิ่นทุรกันดารได้ดีเยี่ยม สามารถใช้กับงานหนัก หรือ งานที่ต้องการความสมบุก สมบันในการขับขี่ โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าน้ำมัน
(2.1) โช้คอัพใช้แก๊ส แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ
- (2.1.1) โช้คอัพแก๊สแรงดันต่ำ ( LOW-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER )โช้คอัพแก๊สแบบนี้ จะมีลักษณะเหมือนโช้คอัพไฮดรอลิคทั่ว ๆ ไป แต่จะถูกบรรจุแก๊สไนโตรเจน (NITROGEN GAS) ซึ่งเป็นแก๊สแรงดันต่ำ ไว้ภายในส่วนบนของห้องน้ำมันสำรอง ซึ่งจะอัดไว้ด้วยแรงดันประมาณ 10 – 15 กก./ ตารางซม. หรือ 142 – 213 ปอนด์/ ตารางนิ้ว
- (2.1.2) โช้คอัพแก๊สแรงดันสูง ( HI-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER )โช้คอัพแก๊สแรงดันสูงนี้ จะมีลักษณะต่างจากโช้คอัพแรงดันต่ำคือ โครงสร้างภายในตัวของโช้คอัพ จะมีน้ำมันเพียงห้องเดียว โดยจะไม่มีห้องน้ำมันสำรอง ภายในกระบอกสูบ จะบรรจุน้ำมันไฮดรอลิคไว้ด้านบนของกระบอกสูบ และจะอัดแก๊สไนโตรเจน ซึ่งเป็นแรงดันต่ำไว้ด้านล่างของกระบอกสูบ โดยจะรักษาแรงดันของแก๊สไว้ ด้วยแรงดันประมาณ 20-30 กก/ตารางซม. หรือประมาณ 284-427 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว โดยจะมีลูกสูบที่เคลื่อนที่ได้ (FLOATING PISTON) เป็นตัวขั้นระหว่างน้ำมันไฮดรอลิคกับแก๊สไนโตรเจน


ทั้งนี้โช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) มีหน้าที่โดยพื้นฐานคือ เป็นตัวควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง (COIL SPRING) แหนบ (LEAF SPRING) และสปริงแบบแท่ง (TORTION BAR) ถ้าไม่มีโช้คอัพรถจะเต้นไม่หยุด โช้คอัพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดแรงกระแทก ที่เกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ ซึ่งโดยมีหน้าที่พื้นฐานคือ เป็นอุปกรณ์ที่คอยควบคุม การทำงานของสปริงหรือแหนบ โดยเมื่อรถยนต์ได้รับแรงกระแทก เนื่องจากสภาพถนน โช้คอัพจะเป็นตัวหน่วง การเคลื่อนที่ขึ้นและลงของตัวรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ได้รับแรงสะเทือนน้อยที่สุด และควบคุมล้อรถ ให้สัมผัสกับพื้นผิวของถนนขณะรถวิ่ง โช้คอัพของรถยนต์โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุก สปริง หรือ แหนบ จะทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกโช้คอัพ (SHOCK ABSORBERS) คือ อุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบรองรับของรถยนต์ เพื่อลดการกระแทก อันเกิดจากพื้นผิวของถนนที่ไม่เรียบ หน้าที่ต่างกัน แต่ ทำงานร่วมกันระหว่างโช้คอัพ กับ สปริงสปริง เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบรองรับของรถยนต์ เมื่อมีแรงกดลงมาสปริง จะทำการยุบตัวลง และ ค่อยคืนสภาพเดิม กล่าวคือ เป็นอุปกรณ์รองรับน้ำหนัก และความยืดหยุ่นของรถยนต์ ดังนั้นก่อนเดินทางควรตรวจสอบโช้คอัพ ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถของคุณ