กรมการขนส่งทางบก กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเชิงรุก กำหนดให้ รถโดยสารและรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ต้องติดตั้ง อุปกรณ์สะท้อนแสงหรือแผ่นสะท้อนแสงตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็นได้ อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุยกระดับความปลอดภัยทางถนน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=514030556035577&set=a.133869560718347&type=3&theater

โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ด้านท้ายรถ ให้ติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงสีแดง ส่วนด้านข้างรถทั้ง สองข้าง ให้ใช้อุปกรณ์สะท้อนแสงสีเหลืองอำพัน นอกจากการติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงแล้ว สำหรับรถบรรทุก ทุกลักษณะ ที่มี จำนวนเพลาล้อ กงล้อและยาง ตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (ยกเว้นรถลากจูง) ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงควบคู่ กับอุปกรณ์สะท้อนแสงด้วย ทั้งนี้ สำหรับวิธีการติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงและแผ่นสะท้อนแสงต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่ง ทางบกกำหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้สำหรับรถโดยสารและรถบรรทุกที่จดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับ ใช้กำหนดระยะเวลาดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งมีเวลาในการติดตั้งและปรับปรุงแผ่นสะท้อนแสงให้เป็นไปตามที่ กรมการขนส่งทางบกกำหนด ดังนี้ รถที่ยังไม่ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงหรือติดตั้งแล้วแต่มีขนาดและตำแหน่งการติดตั้งไม่เป็นไป ตามที่กำหนด ต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2562 กรณีรถที่ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงแล้ว โดยมีขนาดและ ตำแหน่งติดตั้งถูกต้อง แต่ใช้วัสดุหรือมีสีไม่เป็นไปตามกำหนด ให้ระยะเวลาในการแก้ไขให้เรียบร้อย ภายในวันที่ 1 มกราคม 2563 สำหรับผู้ประกอบการฝ่าฝืนไม่ติดตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยกรมการขนส่งทางบกมีมาตรการในการกกำกับดูแลอย่างเข้มข้นจริงจัง พร้อมดดำเนินการตาม กฎหมายทันทีกรณีฝ่าฝืน และหากเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรง ผู้ประกอบการต้องมีส่วนรับผิดชอบทุกกรณี อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการขนส่งทางบกให้ความสสำคัญกับทุกประเด็นความปลอดภัยทาง ถนนพัฒนา ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นมาตรการเชิงป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิด อุบัติเหตุ ทั้งปัจจัยด้านตัวรถและปัจจัยผู้ขับรถ พร้อมยกระดับมาตรฐานยานยนต์ของประเทศไทยให้มีความปลอดภัยเทียบเท่า สากล ด้วยโครงการ “ยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์” นำข้อกำหนดสหประชาชาติ (UN Regulations) ซึ่งถือเป็น มาตรฐานสากลที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคของส่วนควบ เครื่องอุปกรณ์และ ระบบต่างๆ ของรถ ให้มีความเหมาะสม ปลอดภัยและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะยกระดับมาตรฐาน ยานยนต์ของประเทศไทยให้มีความเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล รองรับการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี รวมทั้งพลังงานทางเลือก ในปัจจุบันและอนาคต โดยได้มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นอย่างใกล้ชิดกับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเชื่อมั่นว่าหากผู้ประกอบการขนส่งให้ความร่วมมือ ตระหนักถึง บทบาท หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน จะเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทางถนนได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว