ก่อนอื่นขอกล่าวถึงพื้นฐานระบบเบรกทั่วไปเพื่อปูพื้นฐานก่อนครับ
เพราะชื่อเรียกระบบและกลไกต่างมีความซับซ้อนและคลายคลึงกันทำให้ยากต่อการจำแนกและการจำ
การเบรกของยานพาหนะมีหลายวิธีที่จะหยุด เช่นดึงตัวรถมิให้เคลื่อนที่ เช่นถุงลม ที่ใช้ในรถแข่งทำความเร็วระยะสั้น
หรือการเบรกทั่วไปที่กระทำที่่ล้อไม่ให้หมุน ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
การเบรก ที่ใช้การห้ามล้อมิให้หมุน หรือหมุนช้าลงโดยการให้เกิดความฝืดโดยใช้ผ้าเบรกเสียดสี
การใช้ผ้าเบรกเสียดสี นิยมใช้ 2 วิธีคือ การหนีบ และการถ่าง ซึ่งในรถบรรทุกจะเป็นแบบการถ่างมากกว่า เนื่องจากต้นทุนการผลิตกับประสิทธิภาพลงตัวมากกว่า
1. การหนีบ นิยมใ่ช้กับระบบ Disc Brake ใช้ผ้าเบรกหนีบจานดิสก์เบรกที่ยึดติดกับดุมล้อ เพื่อให้เกิดความฝืด จะพบมากที่ ล้อหน้ารถ มอเตอร์ไซด์, ล้อหน้ารถยนต์
2. การถ่าง นิยมใ่ช้กับระบบ Drum Brake ใช้ผ้าเบรกถ่างออกเพื่อเสียดสี กับกะทะเบรกที่ยึดติดกับดุมล้อ เพื่อให้เกิดความฝืด จะพบมากที่ ล้อหลังรถ มอเตอร์ไซด์, ล้อหลังรถยนต์
3. การอัดซ้อนแผ่น (แบบเปียก) ใช้แผ่นโลหะ หรือแผ่นไมก้าหนีบอัดซ้อนกันให้เกิดความฝืด แช่ในน้ำมันเพื่อลดการสึกหรอ (คล้าย ๆกับแผ่นคลัตช์ในระบบคลัตช์ ในรถจักรยานยนต์ หรือแผ่นคลัตช์ในเกียร์อัตโนมัติในรถยนต์)
disk break


Drum Brake


Disc Brake อาจมีทั้ง 4 ล้อจะพบได้ในรถยนต์ราคาแพง ๆ เพราะต้นทุนสูง
Drum Brake อาจมีทั้ง 4 ล้อจะพบได้ในรถยนต์รุ่นเก่า ๆ
รถยนต์ประเภท 4 ล้อในปัจจุบันมักนิยมใช้ ล้อคู่หน้าเป็นระบบดิสก์เบรก ล้อคู่หลังเป็นระบบดรัมเบรก
รถยนต์บรรทุก ประเภท 4 ล้อขึ้นไป รวมถึงรถบรรทุกสิบล้อ, รถบรรทุกพ่วง, รถเมล์ ฯล นิยมใช้ เป็นระบบดรัมเบรกทุกล้อ
ระบบเบรก แยกตามการสั่งงาน ที่ใช้ในยานพาหนะทั่วไป
1. ใช้สายสลิงควบคุม เห็นได้ง่าย ในรถจักรยานครับ
2. ใช้ไฟ้าฟ้าควบคุม ในรถไฟฟ้า หรือรถบรรทุกรุ่นใหม่ (แต่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะระบบไฟต้องเพียงพอถึงปลอดภัย ส่วนมากใช้ร่วมกับระบบเบรกอื่น ๆ)
3. ใช้ของเหลวควบคุมนิยมใช้น้ำมันไฮดรอลิก HYDRAULIC BRAKE SYSTEM พบได้ง่ายในรถจักยานยนต์ รถยนต์ทั่วไป
รถยนต์ที่วไป และรถบรรทุก 6 ล้อ ใช้แบบไฮดรอลิก ทำงานร่วมกับหม้อลมเพื่อผ่อนแรงในการเหยียบเบรก
4. ใช้อากาศควบคุม(หรือเรียกว่า ระบบเบรกล้มล้วน เพื่อใช้ดันกลไกเบรก) AIR BRAKE SYSTEM พบมากในรถบรรทุกรุ่นใหม่ๆ,รถพ่วง,รถหัวลาก
5. ใช้อากาศ ควบคุมของเหลว(เพือควบคุมกลไกเบรกอีกชั้นนึง ให้ดันกลไกเบรก) AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM
การทำงานของระบบเบรกรถบรรทุก AIR OVER HYDRAULIC BRAKE SYSTEM
หมายเหตุ ระบบนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆหลายอย่าง เช่น “ระบบ เบรค ลม ดันน้ำมัน” แต่ก็มีความหมายเดียวกัน
ตัวอย่างรถบรรทุกที่ใช้ ระบบเบรกนี้ “รถบรรทุก HINO 500”, “ISUZU ROCKY”
ภาษาอังกฤษแคนาดา เรียกระบบนี้ว่า “Air-Actuated Hydraulic Brake System“


ซึ่งระบบเบรกนี้ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่
อุปกรณ์ หม้อลมแม่ปั๊มเบรก ที่ใช้งานมีจำนวน 2 ชุด
– ชุดที่ 1 เป็นหม้อลมแม่ปั๊มเบรกควบคุมล้อหน้า
– ชุดที่ 2 เป็นหม้อลมแม่ปั๊มเบรกควบคุมล้อหลัง
โดยแต่ละชุดจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกไปยังล้อตามชื่อชุด
โดยรับคำสั่งพร้อมกันจาก ลิ้นเหยียบเบรก ดันแผ่นไดอะแฟรมที่อยู่ในหม้อลมแม่ปั๊มเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้า
เพื่อดันลูกสูบในกระบอกแม่ปั๊มเบรก ให้สร้างแรงดันน้ำมันจ่ายผ่านท่อแป๊ปเบรกที่ปลายกระบอกแม่ปั๊มเบรกที่ติดตั้งไกล้ถังลมไปยังล้อต่าง ๆ
เพื่อส่งให้กระบอกเบรก(Wheel Cylinder) รับแรงดันน้ำมันเบรก แล้วส่งผ่านแรงดันไปที่ลูกสูบกระบอกเบรก เพื่อถ่างก้ามเบรกต่อไป
โดยการควบคุมของคนขับ
หมายเหตุ
ปั๊มเบรก / แม่ปั๊มเบรก / หม้อลมเบรก จะติดตั้งไกล้กับถังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเบรกแรงดันสูง เพื่อส่งให้กับกระบอกเบรกตัวล่าง
กระบอกเบรก / กระบอกเบรกตัวล่าง จะติดตั้งอยู่ไกล้กับกระทะล้อ ทำหน้าที่ถ่างก้ามเบรก โดยรับแรงดันน้ำมันเบรก จากแม่ปั๊มเบรกมาดันลูกสูบให้ถ่างก้ามเบรก